นักวิชาการ คาด ต้นทางมีกากแคดเมียม 3.3 แสนตัน

วันที่ 5 เม.ย. 2567 นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย มองว่า นอกจากการระดมตรวจสอบโรงงานที่พบกากแคดเมียมที่ จ.สมุทรสาคร ผู้มีอำนาจควรไปตรวจสอบโรงงานที่เป็นต้นทางกากแคมเมียมก่อนจะขนย้ายมา ซึ่งอยู่ใน จ.ตาก ด้วย เนื่องจากกากแคดเมียมที่ จ.สมุทรสาคร หากเป็นเพียงการเก็บไว้ในถุงบิ๊กแบ็กและยังไม่มีการหลอมจริง

จุดที่อันตรายกว่าคือต้นทางที่ จ.ตาก เพราะกระบวนการขุดเจาะหลุมในการนำกากออกมา และการทำให้แคดเมียมที่ถูกหุ้มซีเมนต์ไว้แตกเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อใส่ถุงบิ๊กแบ็ก เชื่อว่าจะต้องเกิดฝุ่นฟุ้งปลิวตกลงยังพื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการขนย้ายหากเป็นช่วงที่ฝนตก ฝนจะชะล้างสารแคดเมียมลงไปในคลอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรลงไปตรวจสภาพสิ่งแวดล้อม และตรวจสุขภาพคนรอบโรงงาน จ.ตาก รัศมี 3 กิโลเมตร ว่าที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

นอกจากนี้ ควรตรวจสอบด้วยว่า กากแคดเมียมซึ่งถูกผสมปูนฝังไว้ เหลือปริมาณเท่าไหร่ เพราะเท่าที่ตนเองมีข้อมูล ทราบว่ามีการเก็บไว้ราว 330,000 ตัน ก่อนที่จะมีขนย้าย 15,000 ตันออกมาคำพูดจาก JOKER123

ส่วนสาเหตุที่ผู้ประกอบการเลือกจะขนย้ายแคดเมียม ออกมา ทั้งที่ผสมปูนฝังกลบไปแล้วนั้น นายสนธิ มองว่า เป็นเพราะแคดเมียมมีราคาสูง ราวตันละ 100,000 บาท อย่างกรณีนี้ใน 15,000 ตัน มีแคดเมียมอยู่ราว 30 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นตัวเลขกลมๆ หลักร้อยล้านบาท โดยแคดเมียมมักใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การฟอกหนัง ย้อม ทำสี ซึ่งปกติแคดเมียมที่ใช้จะมาจากการขุดแร่ธรรมชาติ หรือซื้อจากต่างประเทศมาผสม ไม่ได้เอามาจากการรีไซเคิล เพราะการรีไซเคิลจะต้องผ่านการหลอม ซึ่งอันตราย กรณีนี้มองว่าอาจเกิดจากการที่ผู้ประกอบการหาวิธีลดต้นทุนด้วยการนำกากที่มีอยู่แล้วออกมารีไซเคิล ซึ่งต้องถามกลับไปยังหน่วยงานราชการว่าอนุญาตได้อย่างไร

นายสนธิ ยังย้ำอีกว่า กรณีนี้หากจะเอาผิด ต้องดูที่เจ้าหน้าที่ที่อนุญาตให้ขนย้ายกากแคดเมียมเหล่านี้ออกจากโรงงานใน จ.ตาก เพราะทางผู้ประกอบการก็ขออนุญาตแล้วและในกระบวนการต้องระบุโรงงานปลายทางที่จะรับกากเหล่านี้ไป แต่เป็นความหละหลวมของหน่วยงานราชการที่อนุญาตให้ขนย้ายทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าในโรงงานมีกากแคดเมียมซึ่งต้องฝังกลบตลอดชีวิต และไม่ได้ตรวจสอบโรงงานปลายทางที่รองรับว่าไม่สามารถรีไซเคิลแคดเมียมได้ กรณีนี้จึงต้องมีการสอบสวนว่าปล่อยให้มีการขนกากออกมาได้อย่างไร

นายสนธิ มองอีกว่า กรณีโรงงานสามารถกักเก็บสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนไว้โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าถูกเก็บไว้ จนกระทั่งเกิดเหตุ เช่น ไฟไหม้ หรือมีหน่วยงานมาตรวจสอบ เพราะช่องโหว่ทางกฎหมาย ที่ปัจจุบันยังไม่มีการผ่านร่าง พ.ร.บ.PRTR ที่ผู้ประกอบการต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบว่าในโรงงานมีสารพิษอะไรอยู่เท่าไหร่ และมีการปล่อยสารพิษอะไรออกมาบ้าง ซึ่งมองว่าเมื่อเกิดเกิดเหตุขึ้นก็เป็นจังหวะที่รัฐบาลควรเร่งผลักดัน เพราะหากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้จะทำให้ประชาชนช่วยกันเฝ้าระวังและเป็นหูเป็นตาได้

วันที่ 5 เม.ย. 2567 นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย มองว่า นอกจากการระดมตรวจสอบโรงงานที่พบกากแคดเมียมที่ จ.สมุทรสาคร ผู้มีอำนาจควรไปตรวจสอบโรงงานที่เป็นต้นทางกากแคมเมียมก่อนจะขนย้ายมา ซึ่งอยู่ใน จ.ตาก ด้วย เนื่องจากกากแคดเมียมที่ จ.สมุทรสาคร หากเป็นเพียงการเก็บไว้ในถุงบิ๊กแบ็กและยังไม่มีการหลอมจริง จุดที่อันตรายกว่าคือต้นทางที่ จ.ตาก เพราะกระบวนการขุดเจาะหลุมในการนำกากออกมา และการทำให้แคดเมียมที่ถูกหุ้มซีเมนต์ไว้แตกเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อใส่ถุงบิ๊กแบ็ก เชื่อว่าจะต้องเกิดฝุ่นฟุ้งปลิวตกลงยังพื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการขนย้ายหากเป็นช่วงที่ฝนตก ฝนจะชะล้างสารแคดเมียมลงไปในคลอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรลงไปตรวจสภาพสิ่งแวดล้อม และตรวจสุขภาพคนรอบโรงงาน จ.ตาก รัศมี 3 กิโลเมตร ว่าที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ ควรตรวจสอบด้วยว่า กากแคดเมียมซึ่งถูกผสมปูนฝังไว้ เหลือปริมาณเท่าไหร่ เพราะเท่าที่ตนเองมีข้อมูล ทราบว่ามีการเก็บไว้ราว 330,000 ตัน ก่อนที่จะมีขนย้าย 15,000 ตันออกมาคำพูดจาก JOKER123 ส่วนสาเหตุที่ผู้ประกอบการเลือกจะขนย้ายแคดเมียม ออกมา ทั้งที่ผสมปูนฝังกลบไปแล้วนั้น นายสนธิ มองว่า เป็นเพราะแคดเมียมมีราคาสูง ราวตันละ 100,000 บาท อย่างกรณีนี้ใน 15,000…